วัดวังปลาหมู |
![]() |
เขียนโดย นายสมชาย แสงชัยศรียากุล | |||||||||||||||||||
วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2010 เวลา 17:44 | |||||||||||||||||||
เล่าเรื่อง…….. วัดวังปลาหมู kวัดพุทธกาญจนมุนี (วัดวังปลาหมู) kkkบ้านวังปลาหมู เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย มีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอาศัยไม่มากนัก ประกอบอาชีพการเกษตรและหาของป่า สาเหตุที่ได้ชื่อบ้านวังปลาหมูเพราะว่าบริเวณคุ้มน้ำหน้าหมู่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหมูจำนวนมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณคุ้มน้ำนั้นว่าวังปลาหมู ซึ่งคำว่า “วัง” หมายถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาจำนวนมากๆข้าพเจ้า ขอแทรกสาระเกี่ยวกับปลาหมู ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดตามแหล่งน้ำของไทย เพื่อประดับความรู้เพราะว่าปัจจุบันปลาหมูได้ลดจำนวนลงมาก แทบไม่พบเห็นตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว kkkkkkkkkkkkkkk kkkkkkkkkkkkkkkkปลาหมูสัญชาติไทย
kkk kkkkปลาหมู เป็นปลาน้ำจืดพบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป มีลำตัวยาว โตเต็มที่จะยาวถึง ๑ ฟุตตาไม่มีหนังหุ้ม มีหนวดตรงจงอยปาก มีเขี้ยว ๒ ซีกคล้ายหมูป่า คอดหางด้านบนไม่มีเส้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว และก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย ครีบหางเว้าลึก ครีบตรงท้องมี ๓ คู่ มีสีสันสวยงาม ลำตัวที่จริงแล้วมีเกล็ดแต่เกร็ดนั้นอยู่ใต้ผิวหนังจึงดูเหมือนไม่มีเกร็ด ปลาหมูมีอุปนิสัยก้าวร้าว ชอบขุดคุ้ย ว่ายน้ำรวดเร็ว หากินตอนกลางคืน ไม่เกรงกลัวปลาอื่น ชอบตอดตามลำตัวปลาอื่นๆ ชอบหลบซ่อน กระตือรือร้น ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาหมูมีหลายสายพันธุ์ พบได้ในหลายประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว บริเวณคุ้งน้ำแม่น้ำแควน้อยตรงท่าน้ำวัดเป็นแหล่งน้ำที่เรียกว่าวังปลาหมู kkkkkช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ราว พ.ศ. ๒๔๘๔ ชาวบ้านวังปลาหมู และชาวบ้านดงยาง พร้อมด้วยชาวบ้านโป่งนก ได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น ณ บริเวณเชิงเขาหน้าถ้ำบ้านวังปลาหมู ( ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหิน เพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้จำพวกขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก) เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจและพิธีการทางศาสนา เนื่องจากระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การเดินทางไปทำบุญไม่สะดวกขาดความปลอดภัย วัดก็อยู่ไกลหมู่บ้าน เมื่อสร้างที่พักสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็นิมนต์พระมาจำพรรษา แต่ก็หาพระที่อยู่จำพรรษานานๆไม่ค่อยได้ สาเหตุเพราะว่าหมู่บ้านอยู่ไกลจากตัวเมืองกาญจน์มาก การเดินทางก็ไม่สะดวกต้องเดินด้วยเท้าหรือไม่ก็ต้องโดยสารเรือจากปากแพรก(หน้าเมือง)มาวัด บางปีมีพระเพียงรูปเดียว บางปีไม่มีพระจำพรรษาเลยจึงเป็นวัดร้างในบางครั้ง เป็นอย่างนี้เรื่อยมา จนกระทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ช่วงเดือนเมษายน ได้มีพระภิกษุจำนวน ๔ รูป ดังนี้ พระบุญเลิศ จตฺตมโล พระหรั่ง ฐีตสีโล (พระครูถาวรวรวิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบอน กรุงเทพฯ) พระจิตติ อุตฺตมาจาโร และพระสุวรรณ กิตติธโร ถือธุดงค์มาจากวัดสุทธาราม กรุงเทพฯ มาพำนักปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐานภายในถ้ำบริเวณที่พักสงฆ์บ้านวังปลาหมู คณะสงฆ์ได้อบรมธรรมะและสอนหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่ชาวบ้านจนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงพร้อมใจกันอาราธนา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๔ รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัด พระท่านก็รับนิมนต์และตัดสินใจจะร่วมกับชาวบ้านสร้างเป็นวัดที่ถาวรขึ้น
kkkkk โครงกระดูกมนุษย์ยุคหินที่พบภายในถ้ำวังปลาหมู พร้อมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขวานหิน
โรงเรียนวัดวังปลาหมู
อาคารเสนาสนะต่างๆของวัด kkk อุโบสถ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖kkk พระพุทธกาญจนมุนี พระประธานได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ kk kkkkโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๐๙ kk หอสวดมนต์ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑k kk kk กุฏิเจ้าอาวาส k กุฏิสงฆ์ และ หอฉันหลังเก่า k ศาลา บำเพ็ญบุญ
หอฉันหลังใหม่กำลัง ดำเนินการก่อสร้าง ศาลาธรรมสังเวชหลังใหม่
ศาลาธรรมสังเวชหลังเก่า kkkkkkk kkkkkkkkkเมรุเจ้าอาวาสวัดพุทธกาญจนมุนี
พระอธิการบุญเลิศ จตฺตมโล
kkkkk
kkkk ทางขึ้นถ้ำ ปากถ้ำ พระพุทธรูปประธานถ้ำ หลวงพ่อจิตติ อุตฺตมาจาโร ท่านจำพรรษาอยู่ภายในถ้ำตลอดหลายสิบปี
k ปู่ฤาษีสัตตบงกช k k
kkkkkkkkkkkkkk kkkkkkkkkkkkkkkkkkkหินที่มีรูปร่างคล้ายเต่าขนาดใหญ่ k ภายในถ้ำมีปล่องทะลุภายนอกเหมือนโคมไฟ แบ่งเป็นห้องต่างๆ ภาพวาดพระครูโลกอุดร ภาพวาดหลวงพ่อจิตติ อุตฺตมาจาโร ภายในถ้ำ ![]() เจดีย์บรรจุโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
วัตถุมงคลของวัดพุทธกาญจนมุนี (วัดวังปลาหมู)
เหรียญหลวงพ่อจิตติ อุตฺตมาจาโร รุ่นฉลองอายุ ๖๐ ปี เมื่อ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ เหรียญหลวงพ่อจิตติ อุตฺตมาจาโร
ด้านหลังเหรียญ หลวงพ่อเกษม เขมฺมโก เป็นสหธรรมมิก กับหลวงพ่อบุญเลิศ จตฺตมโรสร้างเนื้อเดียวคือทองแดง มี ๓ ชนิด ทองแดงรมดำ ทองแดงชุบเงิน ทองแดงชุบทองสาเหตุที่จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระเมตตากับวัดวังปลาหมู พระราชทานพระฤกษ์เททองพระพุทธกาญจนมุนี พระประธานวัดวังปลาหมู เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
kkkkkkkkkkkkkk ล็อกเก็ตหลวงพ่อจิตติ นายอารามบอยได้เสนอเรื่องราวของวัดพุทธกาญจนมุนี พอเป็นสังเขปเพียงเท่านี้ โอกาสหน้าจะสรรหาเรื่องราวของวัดในจังหวัดกาญจนบุรีที่น่าสนใจมาเสนอให้ท่านได้ทราบต่อไป รวบรวมเรื่อง โดยนายสมชาย แสงชัยศรียากุล นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
|
|||||||||||||||||||
LAST_UPDATED2 |